
เมื่อนักเรียนอ่านเรื่องขุมทรัพย์ที่ปลายฝันจบภาค ๒ ครูได้ให้นักเรียนสร้างความเข้าใจ สรุปองค์ความรู้ผ่านการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานในรูปแบบของการแสดงละครอีกครั้ง โดยให้นักเรียนร่วมกันคิดว่าจะ จากปัญหาที่พบในการแสดงละครภาคแรกนั้น แล้วภาคที่ ๒ นี้นักเรียนจะนำเสนออย่างไร
จากนั้นให้นักเรียนระดมความคิด และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการแสดงเรื่องขุมทรัพย์ที่ปลายฝันร่วมกัน ซึ่งได้ผลสรุปดังนี้คือ นักเรียนทั้ง ๑๙ คนจะร่วมกันสร้างสรรค์งานชิ้นนี้ โดยจะใช้การตัดต่อภาพเพื่อความสมจริงของตัวละครและสถานที่ในเรื่อง จัดห้องถ่ายทำโดยเฉพาะเพื่อป้องกันเสียงสอดแทรกเข้ามาของลมและเสียงต่างๆที่อาจรบกวนการแสดงได้ และจะไม่แสดงแค่ภาคที่ ๒ เท่านั้นแต่จะนำเสนอเรื่องขุมทรัพย์ที่ปลายฝันใหม่ทั้ง ๒ ภาค เพื่อที่จะได้เข้าใจเรื่องราวความเป็นมาทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ

เมื่อนักเรียนนำเสนอวิธีการทำงานกับครูเรียบร้อยแล้ว ก็ดำเนินงานโดยเริ่มจากการแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานของแต่ละคน ตั้งแต่คัดเลือกนักแสดง ผู้กำกับ คนเขียนบท ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉากและเครื่องแต่งกาย ฝ่ายออกแบบและตัดต่อคอมพิวเตอร์ คนแต่งเพลง อัดเสียง ฯลฯ จากนั้นลงมือถ่ายทำการแสดง
แต่ในระหว่างการทำงานกลุ่มใหญ่ก็จะพบปัญหาความไม่เข้าใจกัน ทะเลาะกันบ้าง ทำให้การทำงานหยุดชะงักหลายครั้ง แต่ทุกครั้งจะใช้วิธีมานั่งพูดคุยกันถึงปัญหาที่เกิดขึ้น สาเหตุ และหาแนวทางแก้ไข สร้างข้อตกลงการทำงานร่วมกัน ในแรกเริ่มของการหากเกิดปัญหาการทำงานทุกครั้ง นักเรียนจะแจ้งให้ครูทราบรวมทั้งช่วยให้คำแนะนำและแก้ปัญหา แต่ระยะหลังเมื่อเกิดปัญหาการทำงานนักเรียนจะพูดคุยกันเองมากขึ้น รู้จักจัดการปัญหาด้วย
ตนเองได้มากขึ้น ครูเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์อยู่ห่างๆ รับรู้ความเป็นไป และให้อิสระในการทำงานของนักเรียน
จากการสร้างสรรค์ภาพยนตร์เรื่องขุมทรัพย์ที่ปลายฝันในครั้งนี้ นอกจากนักเรียนจะได้เห็นคุณค่าของวรรณกรรม ได้ฝึกทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียนแล้ว นักเรียนยังได้ทักษะการเรียนรู้ รู้จักการเรียนรู้การทำงานร่วมกัน ผ่านการลงมือทำ แลกเปลี่ยน และ ตรวจสอบ เพื่อนำมาปรับใช้ได้ รวมทั้งยังเกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์ การจัดการ การทำงานเป็นทีม การคิดแก้ปัญหาและทักษะ ICT ด้วยค่ัะ