วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กว่าจะมาเป็นภาพยนตร์เรื่องขุมทรัพย์ที่ปลายฝัน

การเรียนวิชาภาษาไทยนักเรียนจะได้เรียนรู้โดยผ่านวรรณกรรมที่หลากหลายและในภาคเรียนที่ ๒ นี้ พี่ ม.๑ ได้เรียนรู้ผ่านวรรณกรรมเรื่องขุมทรัพย์ที่ปลายฝัน ( The Alchemist) ซึ่งจะแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น ๒ ภาค เมื่อนักเรียนอ่านเรื่องขุมทรัพย์ที่ปลายฝันจบภาคที่ ๑ ครูได้ให้นักเรียนสร้างความเข้าใจ สรุปองค์
ความรู้ผ่านการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานในรูปแบบของการแสดงละคร โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น ๒ กลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มคิดและออกแบบการแสดงขึ้นเอง ซึ่งทั้ง ๒ กลุ่มได้นำเสนอรูปแบบการแสดงละครโดยใช้คนแสดงเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวละครที่เป็นบุคคล แกะ หรือต้นไม้ ซึ่งขณะที่นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนองานครูก็จะอัดคลิปการแสดงของแต่ละกลุ่มไว้  จากนั้นครูเปิดคลิปการแสดงของแต่ละกลุ่มให้นักเรียนดูร่วมกัน โดยให้นักเรียนวิจารณ์การแสดงของตนเองร่วมกับเพื่อนๆอีกครั้ง ทั้งสิ่งที่สามารถทำได้ดีแล้วและสิ่งใดที่ควรพัฒนาปรับปรุง ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้คือ นักแสดงบางคนแสดงได้สมบทบาทดีมาก สนุกเป็นธรรมชาติ แต่บางคนยังขาดความมั่นใจในการพูด ลืมบทบ้าง อุปกรณ์ เครื่องแต่งกายไม่พร้อม สถานที่ไม่สมจริง ทำให้การแสดงไม่ค่อยราบรื่น รวมทั้งมีเสียงลมที่พัดแรงมากลบเสียงพูดของนักแสดง

เมื่อนักเรียนอ่านเรื่องขุมทรัพย์ที่ปลายฝันจบภาค ๒ ครูได้ให้นักเรียนสร้างความเข้าใจ สรุปองค์ความรู้ผ่านการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานในรูปแบบของการแสดงละครอีกครั้ง โดยให้นักเรียนร่วมกันคิดว่าจะ จากปัญหาที่พบในการแสดงละครภาคแรกนั้น แล้วภาคที่ ๒ นี้นักเรียนจะนำเสนออย่างไร

จากนั้นให้นักเรียนระดมความคิด และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการแสดงเรื่องขุมทรัพย์ที่ปลายฝันร่วมกัน ซึ่งได้ผลสรุปดังนี้คือ นักเรียนทั้ง ๑๙ คนจะร่วมกันสร้างสรรค์งานชิ้นนี้ โดยจะใช้การตัดต่อภาพเพื่อความสมจริงของตัวละครและสถานที่ในเรื่อง จัดห้องถ่ายทำโดยเฉพาะเพื่อป้องกันเสียงสอดแทรกเข้ามาของลมและเสียงต่างๆที่อาจรบกวนการแสดงได้ และจะไม่แสดงแค่ภาคที่ ๒ เท่านั้นแต่จะนำเสนอเรื่องขุมทรัพย์ที่ปลายฝันใหม่ทั้ง ๒ ภาค เพื่อที่จะได้เข้าใจเรื่องราวความเป็นมาทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ

เมื่อนักเรียนนำเสนอวิธีการทำงานกับครูเรียบร้อยแล้ว ก็ดำเนินงานโดยเริ่มจากการแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานของแต่ละคน ตั้งแต่คัดเลือกนักแสดง ผู้กำกับ คนเขียนบท ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉากและเครื่องแต่งกาย ฝ่ายออกแบบและตัดต่อคอมพิวเตอร์ คนแต่งเพลง อัดเสียง ฯลฯ จากนั้นลงมือถ่ายทำการแสดง

แต่ในระหว่างการทำงานกลุ่มใหญ่ก็จะพบปัญหาความไม่เข้าใจกัน ทะเลาะกันบ้าง ทำให้การทำงานหยุดชะงักหลายครั้ง แต่ทุกครั้งจะใช้วิธีมานั่งพูดคุยกันถึงปัญหาที่เกิดขึ้น สาเหตุ และหาแนวทางแก้ไข สร้างข้อตกลงการทำงานร่วมกัน ในแรกเริ่มของการหากเกิดปัญหาการทำงานทุกครั้ง นักเรียนจะแจ้งให้ครูทราบรวมทั้งช่วยให้คำแนะนำและแก้ปัญหา แต่ระยะหลังเมื่อเกิดปัญหาการทำงานนักเรียนจะพูดคุยกันเองมากขึ้น รู้จักจัดการปัญหาด้วย
ตนเองได้มากขึ้น ครูเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์อยู่ห่างๆ รับรู้ความเป็นไป และให้อิสระในการทำงานของนักเรียน

   จากการสร้างสรรค์ภาพยนตร์เรื่องขุมทรัพย์ที่ปลายฝันในครั้งนี้ นอกจากนักเรียนจะได้เห็นคุณค่าของวรรณกรรม ได้ฝึกทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียนแล้ว นักเรียนยังได้ทักษะการเรียนรู้ รู้จักการเรียนรู้การทำงานร่วมกัน ผ่านการลงมือทำ แลกเปลี่ยน และ ตรวจสอบ เพื่อนำมาปรับใช้ได้ รวมทั้งยังเกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์ การจัดการ การทำงานเป็นทีม การคิดแก้ปัญหาและทักษะ ICT ด้วยค่ัะ

ค่ายทักษะชีวิต

        กิจกรรมเข้าค่ายเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมฯ โดยปกติแล้วคุณครูจะเป็นผู้ที่เตรียมจัดกิจกรรมต่างๆให้ แต่ปีนี้พิเศษตรงที่ พี่ ม.3 อาสามาเป็นผู้จัดเตรียมกิจกรรมให้น้อง ซึ่งพี่ๆ ทุกคนแสดงออกถึงความตั้งใจในการทำงาน มีการวางแผนและคุยงานกัน เพื่อปรับเปลี่ยนและปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ เพื่อที่ต้องการให้น้องๆ ได้เรียนรู้และมีความสุข สนุกกับค่ายในครั้งนี้เช่นกัน

      เริ่มต้นตั้งแต่ การแบ่งกลุ่มน้อง พี่ๆ ก็จะคิดว่าใครควรอยู่กับใคร เพื่อนคนไหนที่สนิทกันให้แยกออกจากกัน เพื่อที่จะเรียนรู้คนอื่นมากขึ้น น้องคนนี้มีทักษะทำมาหากิน ควรอยู่กลุ่มนี้ เพื่อช่วยน้องคนนี้ น้องคนนี้อยู่กับน้องคนนั้นไม่ได้พูดเยอะ เดี๋ยวชวนกันเล่นไม่สนใจกิจกรรม แค่เห็นพี่ๆ คุยกันแค่นี้ก็รู้สึกว่า พี่ม.3 รู้จักคิดวิเคราะห์ลักษณะของน้องๆแต่ละคน รวมทั้งวางแผนการทำงานของตนเองและน้องๆด้วย

     กิจกรรมประจำฐาน พี่ๆม.3 แบ่งกลุ่มรับผิดชอบจัดกิจกรรมประจำฐานซึ่งมีอยู่ 5 ฐานและช่วยกันกำหนดเป้าหมายด้วยว่ากิจกรรมที่ทำมีเป้าหมายอะไร อุปกรณ์ที่ใช้มีอะไรบ้าง ใครจะเป็นคนรับผิดชอบจัดเตรียมมาและพากันออกเดินสำรวจเส้นทางกันเอง วาดแผนที่เองเลยนะคะ


ตัวอย่าง
ฐานทักษะชีวิต
เป้าหมาย
: เพื่อให้น้องๆรู้จักการทำมาหากิน ฝึกความอดทน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
กิจกรรม ให้น้องๆ หาอาหาร ( หอย ปู ปลา )จากสระน้ำ

ฐานสามัคคี
เป้าหมาย : เพื่อให้น้องๆรู้จักสามัคคี ยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน เชื่อใจ รู้จักเป็นผู้นำและผู้ตาม

กิจกรรมให้น้องๆใช้ผ้าปิดตา แต่ให้คนหนึ่งเปิดตาได้ พูดเตือนและนำทางเดินจับเชือกไปตามเส้นทางที่กำหนด
อีกช่วงที่ประทับใจในความคิดของพี่ๆ ม.3 ช่วงแรกที่พี่แบ่งกลุ่มให้ก็จะมีแต่น้องๆม.1-2 แต่พอพี่ผู้ชายดูรายชื่อน้องๆ แล้ว กลับพูดว่า น่าจะให้พี่ผู้ชายไปอยู่ด้วยกลุ่มละ 1 คนนะ เพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยให้น้อง และก็มีพี่ๆผู้ชายที่ยกมืออาสาเดินทางไกลไปกับน้องๆ 5 คน คือ พี่โจ๊กเกอร์ พี่เบส พี่ลาร์ค พี่เก่ง และพี่แทน


ตลอดการเดินทางคุณครูก็สังเกตเห็นว่าพี่จะคอยดูแลน้องๆเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะช่วยถือของให้ คอยพูดกระตุ้นให้กำลังใจขณะที่น้องๆกำลังร่วมทำกิจกรรม

ช่วงกิจกรรมกลางคืนพี่ๆม.3 ไม่ได้อยู่ค้างคืนกับน้องๆนะคะ แต่เสียงสะท้อนที่ได้ยินจากน้องๆกลับมาคือ รู้สึกประทับใจพี่ๆ ทุกคน รู้สึกศรัทธาในตัวพี่ และพี่ก็เจ๋งมากเลย 

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เขา ? พัฒนาได้

 ก่อนหน้านี้ ฉันได้รู้จักเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง เพื่อนๆของเขาและคุณครูที่นี้เรียกเขาว่า พี่มายด์ ซึ่งตอนนั้นเธอกำลังเรียนอยู่ชั้น ป.5  ฉันเองไม่ได้มีโอกาสสอนเขาหรอก เพราะว่าตัวเองเป็นครูประจำชั้นอยู่ที่มัธยม  ได้แต่ข่าววีรกรรมอันแสบซ่า และความเอาแต่ใจ ที่คุณครูประจำชั้น และคุณแม่ของเขาเล่าให้ฟัง   พูดถึงวีรกรรมของเขา คุณครูเส็ง ซึ่งเป็นครูประจำชั้นของเขาก็เคยเล่าให้ฟังว่าวันนี้ตัวเองรู้สึกแย่มากกับเหตุการณ์นี้ ดิฉันก็เลยได้ถามว่าเรื่องราวมันเป็นยังไง  คุณครูเส็งได้เล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ ช่วงตอนบ่ายวันหนึ่งที่ตัวเองพาเด็กๆ ป.5 ไปเล่นวอลเลย์บอลอยู่ที่สนาม ก็เล่นกันตามปรกติ พอดีครูเส็ง เสริ์ฟ ลูกวอลเลย์บอลไปถูกพี่มายด์  น่าจะโดนบริเวณหน้าเข้า เขาก็โวยวายเสียงดัง  ตัวเองเลยได้เข้าไปดู แล้วก็กล่าวขอโทษเขา แต่ประโยคที่ตอบกลับมาจากเขาคือ แล้วมันหายไหมล่ะตอนนั้นมันอาจคงเป็นเพราะเขาโมโหมาก อันนี้ครูเส็งบอกว่าก็เข้าใจ เพราะเข้าเป็นเด็ก  แต่ว่าหลังจากวันนั้นมายด์ก็ไม่ค่อยพูดกับครุเส็งอีกเลยซึ่งยายกับแม่ของเขาก็มาเล่าให้ฟังอยู่ตลอดว่าเขา เป็นคนเอาแต่ใจตัวเองมาก  ชอบโวยวายเสียงดังไม่ว่าจะคุยกับใคร ซึ่งทำให้แม่และยายบอกว่ากังวลเรื่องนี้มากๆ  ซึ่งหลังจากเรื่องราวที่คุณครูเส็งเล่าให้ฟังเกี่ยวกับพฤติกรรมของพี่มายด์  ฉันเองก็จะได้ยินและได้เห็นวีรกรรมอื่นๆของเธออีกหลายเรื่อง แต่ก็ตามประสาเด็กที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัว  และตอนนี้ พี่มายด์ก็ได้เรียนจบ ป.6 ละเลือกที่จะเรียนต่อ ม.1 ที่นี้ ซึ่ง Quarter นี้ฉันได้ขออนุญาต พี่ณี ซึ่งเป็นคุณครูพี่เลี้ยงและเป็นหัวหน้าช่วงชั้นมัธยม  ที่ค่อยให้คำแนะนำและคำปรึกษากับพวกเราที่เป็นคุณครูน้องๆทุกคนมาโดยตลอด  ว่าฉันต้องการเป็นลองเป็นครูประจำชั้น ม.1 เพราะอยากทดลองพัฒนาตัวเองในด้าน การจัดการห้องเรียนและการจัดการเรียนการสอน ด้วยตัวเองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ จะมีพี่ๆคุณครูช่วยอยู่ เนื่องจากประสบการณ์ของฉันยังน้อยนิด และก็ได้รับอนุญาตให้ไปทำหน้าที่  ช่วงแรกที่เริ่มเปิดเทอม ฉันเองตื่นเต้นมาก แม้จะทำงานเป็นครูมาแล้วกว่า 2 ปีแต่ก็ยังรู้สึกประหม่า อยู่ เพราะต้องคิดหาวิธีการสร้างการเรียนรู้ใหม่ ให้เข้ากับพี่ๆ ม.1 ที่เข้ามา และต้องค้นหาวิธีการเพื่อใช้ปรับพฤติกรรมของพวกเขา ให้เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น  จากการประเมินการเรียนการสอนและพฤติกรรมของทุกๆคนในสัปดาห์สิ่งที่ต้องปรับปรุงอย่างมากคือ  ระเบียบวินัย  เนื่องจากพวกเขา ติดเล่น  เดินบ้านเสียงดัง เพราะเป็นอาคารไม้  คุยตลอดเวลา  และที่สำคัญคือ พวกเขาทำความสะอาดห้องเรียนไม่เป็นเลย  (บอกได้คำเดียวว่า สัปดาห์แรก ฉันพูดเก่งขึ้นเป็นกองเลย) 
                และวันนี้เป็น สัปดาห์ที่สองของการเรียนรู้ ซึ่งวันหยุดที่ผ่านมา ฉันได้แต่ครุ่นคิดว่า จะจัดการกับเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างไร  ซึ่งการเรียนรู้ที่จะจัดการของตัวฉันกับพี่ม.1 ก็เริ่มต้นขึ้นในเช้าวันจันทร์ ในช่วงโมงแรกของเช้านี้ คือจิตศึกษา  ฉันได้เริ่มบทสนทนากับพวกเข้า เกี่ยวกับว่า แต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้างหลังจากเรียนผ่านไป 1 สัปดาห์  ทุกๆคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ทั้งในมุมที่ทำได้ดีแล้ว และที่ต้องปรับปรุง  และส่วนใหญ่บอกว่า  ตัวเองต้องรับผิดชอบมากขึ้น  เล่นให้น้อยลง  ซึ่งคำตอบนี้ก็เป็นนิมิตหมายอันดี ที่ทำให้ฉันรู้ว่า เขาทุกคน จะถูกพัฒนาได้ด้วยวิถีใดบ้าง  ในช่วงโมงจิตศึกษา ฉันได้เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับพี่ มัธยม ห้องอื่นๆ  และเป้าหมายของเราที่จะต้องไปให้ถึง   รวมถึงได้พูดสร้างแรงบันดาลใจให้กับพวกเขาทุกๆคนที่ต้องการพัฒนาตัวเอง    ตลอดทั้งวันของวันนั้น การเรียนการสอนก็เป็นไปโดยปรกติ  แต่พวกเขาทุกๆคน ดูตื่นเต้นกับทุกๆเรื่องที่ได้ทำ เพราะมันเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขา  ซึ่งก็พลอยทำให้ฉันมีแรงบันดาลใจที่จะคิดงานใหม่ๆอีกมากมายเพื่อพัฒนาพวกเขา  และในเย็นวันนั้นหลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอน  ก็ถึงชั่วโมงของการทำความสะอาดบริเวณต่างๆของห้องเรียน  ซึ่งเรียกว่าเป็นปัญหามากๆ สำหรับพี่ ม.1 รุ่นนี้   เพราะเขาไม่สามารถวางหน้าที่และบทบาทของตัวเองได้ว่าจะต้องทำอะไร  ฉันเองก็เลยได้เรียกรวมและร่วมพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นและให้พวกเขาเสนอแนะวิธีการร่วมกัน เพื่อจัดการปัญหานี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ พี่ๆ ม.1 แบ่งหน้าที่กันว่าใครจะทำหน้าที่อะไร ซึ่งจากการพูดคุยทุกคนรู้ว่าตัวเองต้องจัดการตรงไหน  รวมถึงตัวฉันด้วย ซึ่งถือคติ ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน”  ดังนั้นก็เลยเริ่มต้นด้วยพาพวกเขาทำ  ความสะอาดมุมต่างๆ ทุกๆที่ ๆเราได้ใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งบอกกับพวกเขาว่า ไม่ใช่เราเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์จากที่นี้  เพราะน้องรุ่นหลังๆก็ต้องมาร่วมใช้เช่นกัน  พี่ๆที่เคยมาร่วมใช้ที่นี้  ทุกคนล้วนใส่ใจและเห็นคุณค่าของอาคารหลังนี้ เพราะฉนั้นพี่ลองคิดดูว่าตัวเองต้องทำอะไรเวลาผ่านไปประมาณ 20 นาที ทุกอย่างก็เรียบร้อย  ฉันได้เรียกพวกเขาทุกคน มาร่วมกันอีกครั้ง  และตั้งคำถามกับเขาว่า  “พี่ๆ ช่วยคุณครูสังเกตหน่อยซิ ว่าตอนนี้ห้องเราเป็นยังไง?”  บรรยากาศห้องช่วงเวลานั้นเงียบมาก สายตาทุกคู่ของพี่ๆม.1 กำลังมองดูรอบๆบริเวณห้องของตัวเอง  แล้วก็ได้ยินเสียงพี่มายด์พูดขึ้นว่า  สะอาด แล้วก็เป็นระเบียบมากค่ะครู  หนูชอบ”     พี่ม.1ทุกคนแสดงอาการเห็นด้วยกับสิ่งที่พี่มายด์พูด ฉันเลยได้บอกกับเขาไปว่า ถ้าพี่ๆชอบ วันนี้ก็จดจำไว้นะ ว่าสิ่งของอะไรวางอยู่ตรงไหน  แม้จะเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆก็ตาม  เช่น พัดลมเคยวางเก็บไว้ที่มุมไหน ก็วางเก็บให้เป็นที่ เวลาเราจะเอามาใช้งานจะได้ง่ายขึ้น  ทุกๆคนพยักหน้ารับรู้ในสิ่งที่ฉันพูด  แต่สำหรับตัวของฉันเองก็ยังหวั่นๆอยู่ว่าเขาจะเข้าใจเพียงไร  
                และการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้น  .......ในเช้าวันต่อมา ในขณะที่ฉันกำลังเดินมาที่บ้าน  ม.1 ตามปรกติ  สิ่งแรกที่สัมผัสได้คือพี่ๆ ม.1 ทุกๆคน อยู่บริเวณรอบๆบ้าน   เสียงทักทายสวัสดีเกิดขึ้นตามปรกติ แต่เสียงนั้นมาพร้อมกับภาพที่ฉันเห็นคือ พี่ม.1 ทุกๆคนกำลังขะมักเขม้น ในการทำความสะอาดในมุมของตัวเอง  โดยที่ไม่มีใครโอดครวญ ต่อสิ่งที่ตัวเองทำ ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับฉันเองอยู่ไม่น้อย   และสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่นี้  ไม่ได้เกิดเพียงวันนี้วันเดียว  มันทำให้ฉันได้เห็นภาพนี้ทุกๆวัน ตลอดการได้รับหน้าที่เป็นครูประจับชั้นของพวกเขาทุกคน

เด็กชายแขนขวา

พี่เหน่งเป็นนักเรียนที่มีแขนเพียงข้างเดียว เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุช่วงเรียนระดับประถมฯ
ขับรถมอเตอร์ไซต์กับตา

ตอนเรียนระดับประถม เป็นนักเรียนที่กล้าแสดงออก มีความสามารถในการร้องเพลง

        การมีน้ำใจ - การเปลี่ยนแปลงตัวเองในด้านที่งอกงาม
หลายเรื่องที่คุณครูคุยกันถึงเรื่อง ความมีจิตอาสาของพี่เหน่งที่ทำหน้าที่ของตนเองเสร็จ แล้วยังมีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนๆ บ่อยครั้ง
เพื่อนๆ และคุณครูไม่เคยมองว่าพี่เหน่งจะทำเรื่องนี้ไม่ได้ เรื่องนั้นไม่ได้เลยสักเรื่อง ทุกคนล้วนมีคุณค่า.. 
และหลายๆ เรื่องที่พี่เหน่องทำเป็นชิ้นงานสำเร็จออกมาแล้ว คนที่มีอวัยวะครบ 32 ยังไม่สามารถทำได้เลยครับ

  ช่วงที่เรียนวิชาPBL เกี่ยวกับการปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2000 เมล็ด ในครั้งนี้.. 
เด็กๆ ทุกคนมีท่อที่ใช้ปลูกข้าวของทุกคน การขนดินขุดดินมาเติมในท่อนั้น ค่อนข้างจะลำบากมากๆ 
แต่พี่เหน่งทำด้วยตนเองทุกกิจกรรม  ขนดิน ผสมปุ๋ยเอง อาสาไปเอาเศษหญ้า ช่วยเติมน้ำในท่อ ฟาง มาแบ่งปันเพื่อนๆ และครู

ช่วงเวลาตลอด 2 สัปดาห์..สิ่งที่สะท้อนให้เห็น

  เวลาที่เพื่อนๆ ผู้ชายไปขนดิน พี่เหน่งมีความอดทนมุ่งมั่นเต็มที่กับกิจกรรมที่ครูพาไปทำ เช่น การขนดิน เขนรถไส เทดิน  ชึ่งมีระยะทางประมาณ 200-500 เมตร ที่ต้องเขนรถไสไปเอาดินมาลงท่อ แสงแดดก็ร้อนมากๆ  และพี่เหน่งกับเพื่อนๆ ผู้ชายกลับมากันเหนื่อยๆ ก็ยังช่วยอาสาผสมดินให้เพื่อนๆ กับครู เช่นทุกๆ ครั้ง  นักเรียนผู้หญิงทั้ง 9 คนก็ช่วยกันหาข้อมูลมาแบ่งปันผู้ชาย เตรีบมท่อให้ ทำความสะอาดบริเวณโดยรอบของบริเวณปลูกรอกัน

ระหว่างทางการเรียนรู้ PBL ทุกๆ ชั่วโมง...
"ผมเห็นการทำงานของลูกศิษย์ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจทำภาระงานที่ได้รับมาอย่างเต็มที่สุดความสามารถของแต่ละคน โดยที่ไม่ย่อท้อ และกล้าที่จะเผชิญกับปัญหานั้นๆ ที่พบระหว่างการเรียนรู้ .. ซึ่งจะนำมาสู่ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนทุกคน แต่ละคนปัญไม่มีซ่ำกันเลย เพราะปลูกคนละท่อ คนละสูตร.. >>มันสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนา ความงอกงามในของของเขาเหล่านั้น "

พี่เหน่งยังมีความสามารถในการเล่นกีฬา อยู่ในระดับดีมาก ชอบเล่น ฟุตบอล 


ทุกๆ สิ่งสะท้อนถึงความงอกงามของลูกศิษย์ คือ กำลังใจที่มอบให้ครู..

ครูประจำชั้น ม.1