วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เส้นทางสายครู


เส้นทางสายครู

                 ในชีวิตผมไม่เคยอยากเป็นครูเลย เพราะถ้าผมอยากเป็นครูผมก็คงเรียนสายครูแล้ว ผมคิดอย่างนั้น  แต่ผมเป็นคนที่รัก และศรัทธาในอาชีพครูมาก ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้ผมมาเป็นครูก็ได้ใครจะไปรู้ ความประทับใจเมื่อครั้งเป็นครูใหม่ๆที่ความรู้สึกนั้นยังชัดเจนในใจผมเสมอมา คือผมได้เจอครูที่ดี เห็นความตั้งใจของคุณครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่ช่วยกันหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามให้กับเด็ก เห็นบรรยากาศการเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กๆเรียนรู้อย่างมีความสุข ชั้นแรกที่ผมได้มาอยู่คือ ป.5 เป็นห้องที่ท้าทายพอสมควรสำหรับครูใหม่อย่างผม เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นทำให้แต่ละคนมีความเป็นตัวเองสูงมาก  การเข้าถึงพวกเขาจึงเป็นเรื่องยากสำหรับครูใหม่อย่างผมก่อนอื่นผมจำชื่อพวกเขาให้ได้ทุกคนก่อน  ส่วนผู้ชายผมพยายามหาเรื่องที่ทุกคนสนใจร่วมกันเช่น กีฬา เพื่อทำให้ทุกคนมีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อนและครู สำหรับลูกศิษย์รุ่นแรกทำให้ผมได้เรียนรู้อย่างมหาศาลไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเรียนการสอน การเก็บเด็ก เทคนิคต่างๆท่าทีความเป็นครูและอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้เรายังมีครูรุ่นพี่ที่คอยให้คำแนะนำทุกอย่างซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับผม มีกิจกรรมมากมายที่เกิดขึ้นผมของยกกิจกรรมหนึ่งที่พึ่งผ่านไปไม่นานมาเล่าให้ฟัง นั่นก็คือ กิจกรรมเดินทางไกล
                กิจกรรมเดินทางไกลเป็นกิจกรรมที่ท้าทายเด็ก  ครู และผู้ปกครองมากสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับลูกๆ เด็กๆทุกคนตื่นเต้นเมื่อรู้ว่าจะได้เดินทางไกล อยากรู้ว่าระยะทางที่ตนเองเดิน และไปเส้นทางไหน เห็นความตั้งใจของพี่ม.3ที่ช่วยกันวางแผนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละฐานการเรียนรู้ได้แบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน ผมได้อยู่กับฐานทักษะชีวิตกลุ่มไหนที่มาฐานนี้จะต้องหาอาหารเพื่อนำกลับไปเป็นอาหารเย็น ทุกกลุ่มที่มาต่างก็สนุกสนานสังเกตพี่ม.3 ทุกคนดูแลน้องๆในกลุ่มตัวเองเป็นอย่างดี   ทุกคนในกลุ่มต่างช่วยกันหาปู ปลา หอย ในเวลาที่จำกัดซึ่งทุกกลุ่มก็สามารถผ่านฐานทักษะชีวิตไปได้ด้วยอาหารเต็มไม้เต็มมือกลับไป หลังจากที่แต่ละกลุ่มกลับมาถึงโรงเรียนก็เก็บอุปกรณ์ แบ่งหน้าที่กัน เช่น ทำอาหาร เตรียมเครื่องเทศ  หาฟืนก่อไฟ ผมและครูคนอื่นก็ยืนดูห่างๆ

ในฐานนี้พี่ๆจะมีบทบาทมากที่สุด  เป็นผู้นำน้องๆในการหาเสบียงอาหาร  น้องเชื่อฟังพี่และได้เห็นมุมอีกมุมหนึ่งระหว่างพี่กับน้องที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทีม มีการวางแผนภายในกลุ่มทำให้ภารกิจสำเร็จด้วยดี

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เกม 24 และ 180 IQ

ก่อนเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ทุกๆ ชั่วโมงประมาณ 5-10 นาที ผมจะมีโจทย์ให้เด็กๆ แต่ละคนได้คิดก่อนเตรียมความพร้อมที่จะเรียนในเนื้อหานั้นๆ 

เช่น
*วิธีการเล่นเกม 24  : ผมจะกำหนดตัวเลขมาให้ 4 ตัว ให้เด็กๆ ใช้  บวก (+)  ลบ (−)  คูณ (×)  หาร (÷)  มาดำเนินการเพื่อที่จะหาคำตอบ โดยเลข 1 ตัว ใช้ได้เพียง 1 ใช้ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

2  8  7  4  

9  6  3  1

5  8  5  3

พอครูตั้งโจทย์ให้เสร็จแล้ว โจทย์ทุกข้อจะมีคำตอบ คือ 24  
เด็กๆ ทุกคนชอบกิจกรรมนี้มาก ทุกคนต่างมีสิทธิ์ได้ตอบ โดยการยกมือ คนที่ยกมือคนแรกจะได้อธิบายก่อน ครูก็จะช่วยจัดระบบข้อมูลให้เด็กๆ พร้อมกับค่อยตั้งคำถามกระตุ้นการคิดอย่างสม่ำเสมอ "ใครมีวิธีคิดที่แตกต่างจากนี้บ้างครัับ"
เด็กๆ ที่คิดเลขเร็ว คิดเลขได้ช้า ต่างก็มีสิทธิ์ในการอธิบายเท่ากัน
 หลายคนต่างกระตุ้นตัวเอง ผลักตัวเองขึ้นมาเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อที่จะหาวิธีคิดจากคำตอบ ทุกๆ คนได้จดจ่ออยู่กับการคิดนั้นจริงๆ 

** วิธีการเล่นเกม 180 IQ : จะเพิ่มเครื่องหมาย ยกกำลัง กับ รากที่ 2 เข้ามาเพิ่มในการคิดตัวเลขที่มีค่าเยอะๆ  เกมนี้จพท้าทายกว่าเกม 24 มากขึ้นครับ  กติกาเช่นเดียวกับเกม 24

3  9  5  6  2  =  57

5  6  9  3  6  =  31

7  2  6  4  1  =  53

มันเป็นเรื่องที่ผมยังไม่ได้สอน คือ รากที่ 2 แต่เด็กๆสนใจ เพราะพวกเขาจะได้นำมันมาใช้ในการหาคำตอบได้สะดวกขึ้น เด็กๆ ก็เลยเข้าใจเรื่องรากที่ 2 ไปโดยปริยาย และทบทวนเลขยกกำลังกันจนมองเห็นภาพชัดเจน

ทุกครั้งที่ตั้งโจทย์เสร็จ ผมสังเกตุเห็นการใคร่ครวญกับโจทย์แตกต่างกันออกไป..
บางคนใช้วิธีเขียนโจทย์ลงในสมุดทดคด แล้วคิดๆ ก่อนจะยกมือตอบครู / อธิบายวิธีคิดให้ครูและเพื่อนๆ รับฟัง
บางคนใช้วิธีจ่องมองตัวเลขทั้ง 5 ตัว แล้วคิดในใจ เพื่อให้ได้คำตอบ - วิธีการนี้จะเป็นอีกขั้นหนึ่งที่คนเข้าใจพื้นฐานการคิดมาแล้วระดับหนึ่ง มองเห็นภาพตัวเลขความสัมพันธ์ ก่อนโยงเข้าสู่ค่าของคำตอบที่ใกล้เคียง แล้วจึงขมวดให้ได้คำตอบที่ตรงค่านั้น 
  หลายๆ กิจกรรมทุกๆ โจทย์ถึงจะเป็นคนเดิมซ้ำๆ ที่ตอบ หรือเพื่อนๆ คนอื่นได้แชร์วิธีคิด : เพื่อนๆ ทุกคนได้ฝึกการสังเกตุ การตรวจสอบคำตอบของผู้อื่น กระบวนการจัดระบบข้อมูล และการรับฟัง

เด็กๆ มีความสามารถในการคิดทางคณิตศาสตร์ ทุกครั้งที่เด็กๆ มาส่งงานผมจะให้ทุกคนอธิบายสิ่งที่ทำมา หากยังไม่เข้าใจต้องไปเรียนรู้โจทย์ที่ทำมาส่งใหม่ ฝึกการเตรียมความพร้อมก่อนมาส่งงาน เช็คตัวเองให้ดีๆ ว่าเข้าใจเรื่องนั้นมากน้อยเพียงไร จะแก้ปัญหาในความไม่รู้เรื่องนั้นอย่างไร

สิ่งที่สะท้อนเห็นได้ชัดก่อนมาส่งงาน เพื่อนที่ส่งผ่านแล้วจะค่อนแนะนำเพื่อน(Peer Assist) ที่ยังไม่เข้าใจ ช่วยเช็คงานเพื่อก่อนจะนำมาส่งครูทุกๆ ครั้ง